ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สื่อสารสงเคราะห์

สภาพทั่วไปของโรงเรียน

ชื่อโรงเรียน     โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สื่อสารสงเคราะห์    

สังกัด           สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)


ที่ตั้ง ถนน  ๑๔๙ ถนนพระราม ๕  ตำบล/แขวง  ถนนนครไชยศรี  อำเภอ/เขต  ดุสิต

จังหวัด กรุงเทพฯ    รหัสไปรษณีย์   ๑๐๓๐๐   โทรศัพท์   ๐๒-๒๙๗-๖๖๐๘ 

โทรสาร    ๐๒-๒๙๗-๖๖๐๘

e-mail                suesan.upatham@signalschool.ac.th                         

website             www.suesansongkhroah.ac.th



ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน (โดยสังเขป)

จอมพลถนอมเปิดอาคารเรียน 

เมื่อ ๒๗  พฤษภาคม  ๒๕๐๘


โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สื่อสารสงเคราะห์ เดิมชื่อ “ โรงเรียนสื่อสารสงเคราะห์ประเภทสามัญ ”ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๙๑ และเปิดให้มีการเรียนการสอนครั้งแรก ในวันที่ ๒๑  พฤษภาคม ๒๔๙๑  สถานที่ตั้งเป็นเรือนไม้ ตั้งอยู่ในกรมการทหารสื่อสาร เลขที่ ๑๔๙ ถนนพระราม ๕ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต  กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ บนเนื้อที่ ๒ ไร่ ๗๘ ตารางวา มีห้องเรียนจำนวน ๓ ห้อง ที่อาคารเรียนเรือนไม้ ๒ ชั้น ๑ หลัง โดยมีห้องขนาด ๖.๐๐ เมตร x ๖.๐๐ เมตร จำนวน ๒ ห้อง ความจุห้องละ ๓๖ คน รวมความจุ ๗๒ คน และห้องขนาด ๗.๐๐ เมตร x ๘.๐๐ เมตร จำนวน ๑ ห้อง ความจุ ๕๓ คนรวมความจุที่ได้รับ ๑๒๕ คน ได้ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วต่อไปโรงเรียนจะมีอาคารเรียนเรือนไม้ ๒ ชั้น ๑ หลัง  จำนวน ๑๙ ห้อง โดยมีห้องขนาด ๗.๐๐ เมตร x ๘.๐๐ เมตร จำนวน ๑๖ ห้อง ความจุห้องละ ๕๓ คน รวมความจุ ๘๔๘ คน และห้องขนาด ๖.๐๐ เมตร x ๖.๐๐ เมตร จำนวน ๓ ห้อง ความจุห้องละ ๓๖ คน รวมความจุ ๘๔๘ คน สูงสุดทั้งโรงเรียน ๙๕๖ คน เนื้อที่ดินโรงเรียน ๒ ไร่ ๗๘ ตารางวา ต่อมากิจการของโรงเรียนเจริญเติบโตขึ้นโดยลำดับ มีจำนวนนักเรียนมากขึ้น จึงได้ก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่  ในการเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกนั้น มีรายละเอียดดังนี้

การจัดตั้งโรงเรียนสื่อสารสงเคราะห์ประเภทประถมศึกษา สำเร็จได้เพราะความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ คณะกรรมการได้หาเงินรายได้พิเศษมาเป็นค่าใช้จ่ายดัดแปลง ตลอดจนซ่อมแซมตัวอาคารซึ่งใช้เป็นโรงเรียน รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท

แผนกคลัง กรมทหารสื่อสารให้ความช่วยเหลือในการจัดทำวัสดุต่างๆ ได้แก่ ป้ายชื่อโรงเรียน กระดานดำ โต๊ะ เก้าอี้นักเรียน และยังให้ความช่วยเหลือสนับสนุนตลอดไปโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มอบม้านั่งจำนวน ๑๐๐ ตัว นอกนั้นยังมีกองลุกมือ และกองโรงเรียนนายสิบ ช่วยตกแต่งบริเวณโรงเรียน

ในปีการศึกษา ๒๔๙๒ โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนอัตราไม่เกินร้อยละ ๖๐ ของค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนภาครัฐ โดยจ่ายตามวุฒิครูที่ได้รับอุดหนุนตามอัตรา

ปี พ.ศ.๒๕๐๖ โรงเรียนได้เจริญเติบโตขึ้นโดยลำดับ มีนักเรียนมากขึ้น อาคารที่ใช้อยู่ดูคับแคบเกินไป พลตรีศุภชัย สุรวรรธนะ เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียน (ผู้รับใบอนุญาต) ขณะนั้นจึงได้ก่อสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น (เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน)

ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ พันโท ประพาศ เรืองฤทธิ์ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน และได้เป็นผู้ริเริ่ม โครงการให้มีการเปิดการเรียนการสอนระดับอนุบาลขึ้น มีจำนวนห้องเรียน ๕ ห้อง มีนักเรียนเข้ามาเรียนระดับอนุบาลจำนวน ๑๙๐ คน ซึ่งการเรียนการสอนระดับอนุบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาการเลี้ยงดูบุตรหลานที่ยังเล็ก

ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ มีการเปิดสอนคอมพิวเตอร์ในระดับประถมศึกษา และเพิ่มเติมในระดับอนุบาลในปีต่อมา นอกจากนี้ ยังมีการจ้างครูชาวต่างประเทศมาสอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นการเสริม เพิ่มเติมความรู้ในการสนทนาภาษาอังกฤษ

ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เปิดการเรียนการวิชาจินตคณิต

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ พลตรี นิพนธ์ ธีระพงษ์ เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียน (ผู้รับใบอนุญาต) โดยมีนางสาวสิริพร สุมนดิษย์ เป็นครูใหญ่ โรงเรียนได้จัดสร้างอาคารเพิ่มเติมอีก ๒ หลัง เป็นอาคารเอนกประสงค์ชั้นเดียว จัดทำเป็นห้องสมุด และอาคาร ๒ ชั้น ด้านหลังอาคารไม้ จัดทำเป็นห้องธุรการ ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้นบนเป็นห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ปีพ.ศ. ๒๕๕๑ พลโท กิตติทัศน์  บำเหน็จพันธุ์ เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ( ผู้รับใบอนุญาต)ได้กรุณาอนุมัติ ได้มีการจัดสร้างห้องปฏิบัติการทางภาษา ๑ ห้อง  และ   สนามเด็กเล่นและปรับปรุงห้องสมุด   โดยมีพันเอกประพาศ  เรืองฤทธิ์  ผู้อำนวยการ เป็นผู้รับนโยบาย

ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ พลโท ไกรฤกษ์ แก้วแสน เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ( ผู้รับใบอนุญาต)ได้กรุณาอนุมัติให้มีก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นอาคารคอนกรีต  ๔ ชั้น  ห้องเรียนจำนวน ๖ ห้องเรียน ห้องประกอบการคอมพิวเตอร์ จำนวน ๑ ห้อง  และห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน ๑ ห้อง ห้องน้ำทุกชั้น โดยมีพันเอก ประพาศ  เรืองฤทธิ์ ผู้อำนวยการ เป็นผู้รับนโยบาย

          ปี พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๘ พันตรีหญิง ดร.อโณทัย   สินธุวงศานนท์  รับตำแหน่งผู้อำนวยการ ได้ปรับปรุงอาคารเรียนเพิ่มเติมในส่วนของอาคารเก่า  ปรับปรุงห้องน้ำใหม่พร้อมทั้งนำสื่อเทคโนโลยีใหม่เข้าใช้ในการเรียนการสอนและได้พัฒนาการเรียนการสอนโดยได้นวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน

ด้านอาคารสถานที่

ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล (ระดับปฐมวัย) ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ (ช่วงชั้นที่ ๒) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ปีการศึกษา ๒๕๖๒ พันโท ดร. คีรีบูรณ์ จำปาเทศ ผู้อำนวยการโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สื่อสารสงเคราะห์เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ๑-๓ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ และจัดรูปแบบการเรียนการสอน English for Integrated Studies (EIS) ในระดับชั้นอนุบาล ๒ ได้แก่ สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น โรงเรียนนำร่องในการเรียนรูปแบบดังกล่าว

ปีการศึกษา ๒๕๖๓ พลโทวสันต์ สวนเเก้ว เจ้ากรมการทหารสื่อสาร/ผู้รับใบอนุญาต เเละ พันเอก ดร. คีรีบูรณ์ จำปาเทศ ผู้อำนวยการโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สื่อสารสงเคราะห์เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ๑-๓ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ และจัดรูปแบบการเรียนการสอน English for Integrated Studies (EIS) ในระดับชั้น อนุบาล ๓ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และมีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

อาคารเรียนชั้นที่ ๑      เป็นห้องอำนวยการ

อาคารเรียนชั้นที่ ๒-๓   เป็นห้องเขียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖

อาคารเรียนชั้นที่ ๔      เป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการทางภาษา

ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล (ระดับปฐมวัย) ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ (ช่วงชั้นที่ ๒) สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน


สถานที่ตั้ง

โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สื่อสารสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ สำนักงานคณะกรรมการบริหารเอกชน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๙ ถนนพระราม ๕ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐

โทรศัพท์. ๐๒–๒๙๗-๖๖๐๘ โทรสาร. ๐๒–๒๙๗-๖๖๐๘

ระดับนักเรียน

นักเรียนสามารถเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาได้ทุกคนและสามารถนำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนในเรื่องความสามารถทางด้านวิชาการ

ปรัชญาของโรงเรียน

“มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม”

มีวินัย            หมายถึง         สามารถปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง

                                      และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีได้

ใฝ่เรียนรู้         หมายถึง         มีความกระตือรือร้น สนใจ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง นำประสบการณ์ที่

                                      ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

คู่คุณธรรม       หมายถึง         มุ่งให้นักเรียนยึดมั่นใน ศาสนา  มีคุณธรรม ตาม จรรยาบรรณแห่ง

วิชาชีพและประพฤติ ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม

คติพจน์

สุสสูสํ            ลภเต             ปญญํ

ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา

สีประจำโรงเรียน

ม่วง –  เหลือง

สีม่วง   หมายถึง สีประจำกรมการทหารสื่อสาร เนื่องจากโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สื่อสารสงเคราะห์ เป็นหน่วยงานที่ขึ้นกับกรมทหารสื่อสาร

สีเหลือง หมายถึง ความสว่างแห่งปัญญา


 สัญลักษณ์โรงเรียน


อักษรย่อของโรงเรียน

ทบอ.สสส.

ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำสถานศึกษา

ดอกมะลิ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

๒. ซื่อสัตย์สุจริต

๓. มีวินัย

๔. ใฝ่เรียนรู้

๕. อยู่อย่างพอเพียง

๖. มุ่งมั่นในการทำงาน

๗. รักความเป็นไทย

๘. มีจิตสาธารณะ